ข้ามไปเนื้อหา

พายุไต้ฝุ่นพระพิรุณ (พ.ศ. 2555)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พายุไต้ฝุ่นพระพิรุณ
พายุไต้ฝุ่นนีนา
พายุไต้ฝุ่นพระพิรุณขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่
11 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา
ก่อตัว5 ตุลาคม พ.ศ. 2555
นอกเขตร้อน19 ตุลาคม พ.ศ. 2555
สลายตัว23 ตุลาคม พ.ศ. 2555
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก
10-นาที ของเฉลี่ยลม (JMA)
ความเร็วลมสูงสุด165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด940 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 27.76 นิ้วปรอท
พายุไต้ฝุ่น
10-นาที ของเฉลี่ยลม (TMD)
ความเร็วลมสูงสุด165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด940 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 27.76 นิ้วปรอท
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4
1-นาที ของเฉลี่ยลม (SSHWS/JTWC)
ความเร็วลมสูงสุด215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด930 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 27.46 นิ้วปรอท
ผลกระทบ
ผู้เสียชีวิตไม่มีการรายงาน
ความเสียหายไม่มีการรายงาน
พื้นที่ได้รับผลกระทบกวม, ญี่ปุ่น
IBTrACS

ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2555

พายุไต้ฝุ่นพระพิรุณ (อักษรโรมัน: Prapiroon)[nb 1] หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุไต้ฝุ่นนีนา (ตากาล็อก: Nina)[nb 2] เป็นพายุหมุนเขตร้อนลูกที่ยี่สิบเอ็ดในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกในช่วงปี พ.ศ. 2555 พายุไต้ฝุ่นพระพิรุณเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกท��่ 30, พายุโซนร้อนลูกที่ 21 และพายุไต้ฝุ่นลูกที่ 12 ในฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2555 ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ก่อตัวขึ้นห่างจากฮากัตญา[1] ต่อมาพายุดีเปรสชันเขตร้อนก็ได้กลายเป็นพายุโซนร้อน เนื่องจากพายุได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วโดยมีแถบพายุดีเปรสชันเขตร้อนลึกห่อหุ้มจากทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปยังทางทิศตะวันออกของศูนย์กลางพายุในเช้าวันรุ่งขึ้น[2] พายุโซนร้อนพระพิรุณก็ได้ทวีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และยังคงทวีกำลังแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยมีแถบโค้งแน่นหนาเหนือศูนย์กลางของพายุในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกตามสันเขากึ่งเขตร้อน[3]

พายุโซนร้อนกำลังแรงพระพิรุณได้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นในช่วงดึก เนื่องจากพายุมีแถบพายุฝนฟ้าคะนองลึกที่ค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นตามแนวทิศใต้ และพายุเริ่มมีการพัฒนาลักษณะของตาพายุบนภาพถ่ายดาวเทียมในวันต่อมา พายุไต้ฝุ่นพระพิรุณได้ทวีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 เนื่องจากพายุเริ่มเคลื่อนตัวเกือบนิ่งเพราะจากสภาพแวดล้อมการบังคับทิศทางที่อ่อนแอระหว่างสันเขากึ่งเขตร้อนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และสันเขาใกล้เส้นศูนย์สูตรทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ พายุเริ่มพัฒนาตาพายุประมาณ 33 กิโลเมตร (20 ไมล์) ซึ่งถึงสถานะกำลังแรงสูงสุดในระดับเทียบเท่ากับมีความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 3 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน พายุไต้ฝุ่นพระพิรุณมีกำลังแรงสูงสุดด้วยความเร็วลม 165 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (105 ไมล์ต่อชั่วโมง)[nb 3] และความกดอากาศที่ 940 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.76 นิ้วของปรอท) ในวันที่ 11 ตุลาคม หลังจากนั้นพายุไต้ฝุ่นพระพิรุณก็เริ่มอ่อนกำลังลงจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 เนื่องจากตาพายุเริ่มขรุขระพร้อมกับยอดเมฆที่อุ่นขึ้นในขณะที่พายุถูกบังคับทิศทางไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือโดยสันเขาใกล้เส้นศูนย์สูตรในวันที่ 13 ตุลาคม พายุได้อ่อนกำลังลงอีกเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 เนื่องจากการเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือ และพายุก็ได้ชะลอการเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ[4]

พายุไต้ฝุ่นพระพิรุณกำลังเคลื่อนตัวช้า ๆ เนื่องจากสันเขากึ่งเขตร้อนทางทิศตะวันออกเริ่มควบคุมสภาพแวดล้อมการบังคับทิศทางในขณะที่สันเขาใกล้เส้นศูนย์สูตรอ่อนกำลังลง และการพาความร้อนจากศูนย์กลางของพายุก็ลดลงเช่นกัน พายุก็เริ่มมีกำลังแรงขึ้นอีกครั้งจนถึงระดับกำลังแรงสูงสุดในขณะนั้น และเกือบจะหยุดเคลื่อนตัวอีกครั้งเพราะเข้าสู่บริเวณคอลในขณะที่พายุโซนร้อนกำลังแรงมาเรียกำลังเคลื่อนตัวไปรอบสันเขากึ่งเขตร้อนที่อยู่ใกล้เคียงกับพายุไต้ฝุ่นพระพิรุณ[5] หลังจากนั้นพายุก็เริ่มอ่อนกำลังลงจนกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงในขณะที่เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก และเริ่มเคลื่อนตัวเร็วขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในวันที่ 18 ตุลาคม พายุโซนร้อนพระพิรุณได้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือก่อนที่จะเปลี่ยนทิศทางไปทางทิศเหนือใกล้หมู่เกาะอะลูเชียน[6]

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา

[แก้]
แผนที่แสดงเส้นทาง และความรุนแรงของพายุตามมาตราส่วนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
ความรุนแรงของพายุ
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุที่ไม่ทราบความเร็วลม
ประเภทของพายุ
■ พายุหมุนกึ่งเขตร้อน
▲ พายุหมุนนอกเขตร้อน / หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ / รบกวนของเขตร้อน / ลมมรสุมพายุดีเปรสชั่นเขตร้อน
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นพระพิรุณ

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยาของพายุไต้ฝุ่นพระพิรุณ

  • วันที่ 5 ตุลาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA)[nb 4] เริ่มติดตามพายุดีเปรสชันเขตร้อนที่ก่อตัวขึ้นห่างจากฮากัตญา กวม ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 115 กิโลเมตร (70 ไมล์) ในเวลานั้น พายุดีเปรสชันมีศูนย์กลางการหมุนเวียนของลมระดับต่ำที่รวมตัวกันอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลอุ่น และมีลมเฉือนแนวตั้งเล็กน้อยด้วยการพาความร้อนจากศูนย์กลางของพายุที่เพิ่มขึ้น
  • วันที่ 7 ตุลาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อน และกำหนดให้ชื่อว่า พระพิรุณ ในเวลาเดียวกันศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC)[nb 5] เริ่มออกคำแนะนำเกี่ยวกับพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อนที่จะยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อนในเวลาต่อมา และรายงานว่าพายุได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วโดยมีแถบพายุดีเปรสชันเขตร้อนลึกห่อหุ้มจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปยังทิศตะวันออกของศูนย์กลางพายุในเช้าวันรุ่งขึ้น
  • วันที่ 8 ตุลาคม พายุโซนร้อนพระพิรุณก็ได้ทวีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และยังคงทวีกำลังแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยมีแถบโค้งแน่นหนาเหนือศูนย์กลางของพายุในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกตามสันเขากึ่งเขตร้อน ต่อมาสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้กำหนดชื่อท้องถิ่นว่า นีนา เมื่อพายุเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของประเทศฟิลิปปินส์ในช่วงดึกของวันเดียวกันนั้น และสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับพายุโซนร้อนกำลังแรงให้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่น เนื่องจากพายุมีแถบพายุฝนฟ้าคะนองลึกที่ค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นตามแนวทิศใต้
  • วันที่ 9 ตุลาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ดำเนินการเมื่อพายุเริ่มมีการพัฒนาลักษณะของตาพายุบนภาพถ่ายดาวเทียมในวันต่อมา พายุไต้ฝุ่นพระพิรุณได้ทวีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 เนื่องจากพายุเริ่มเคลื่อนตัวเกือบนิ่งเพราะจากสภาพแวดล้อมการบังคับทิศทางที่อ่อนแอระหว่างสันเขากึ่งเขตร้อนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และสันเขาใกล้เส้นศูนย์สูตรทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
  • วันที่ 11 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นพระพิรุณเริ่มพัฒนาตาพายุประมาณ 33 กิโลเมตร (20 ไมล์) ซึ่งถึงสถานะกำลังแรงสูงสุดเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 เมื่อช่วงค่ำของในวันรุ่งขึ้น และพายุก็เริ่มอ่อนกำลังลงจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 เนื่องจากตาพายุเริ่มขรุขระพร้อมกับยอดเมฆที่อุ่นขึ้นในขณะที่พายุถูกบังคับทิศทางไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือโดยสันเขาใกล้เส้นศูนย์สูตรในวันถัดมา
    พายุไต้ฝุ่นพระพิรุณหลังมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555
  • วันที่ 13 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นพระพิรุณได้อ่อนกำลังลงอีกเป���นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 เนื่องจากการเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือ และพายุก็ได้ชะลอการเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ พายุกำลังเคลื่อนตัวช้า ๆ เนื่องจากสันเขากึ่งเขตร้อนทางทิศตะวันออกเริ่มควบคุมสภาพแวดล้อมการบังคับทิศทางในขณะที่สันเขาใกล้เส้นศูนย์สูตรอ่อนกำลังลง และการพาความร้อนจากศูนย์กลางของพายุก็ลดลงเช่นกัน ก่อนที่จะเปิดตาพายุที่ระยะประมาณ 28 กิโลเมตร (17 ไมล์) ในวันถัดมา
  • วันที่ 15 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นพระพิรุณเริ่มมีกำลังแรงขึ้นอีกครั้งจนถึงระดับกำลังแรงสูงสุดในขณะนั้น เนื่องจากความร้อนจากดวงอาทิตย์ลึกห่อหุ้มตาพายุที่ระยะประมาณ 110 กิโลเมตร (68 ไมล์) และเกือบจะหยุดเคลื่อนตัวอีกครั้งเพราะเข้าสู่บริเวณคอลในขณะที่พายุโซนร้อนกำลังแรงมาเรียกำลังเคลื่อนตัวไปรอบสันเขากึ่งเขตร้อนที่อยู่ใกล้เคียงกับพายุไต้ฝุ่นพระพิรุณ หลังจากนั้นพายุก็เริ่มอ่อนกำลังลงในช่วงปลายวันเดียวกัน เนื่องจากความร้อนจากดวงอาทิตย์ลึกลดลงในทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือโดยมียอดเมฆที่อุ่นขึ้น
  • วันที่ 16 ตุลาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ลดระดับพายุไต้ฝุ่นให้กลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และวันต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ลดระดับพายุไต้ฝุ่นให้กลายเป็นพายุโซนร้อนเช่นกัน เนื่องจากอากาศแห้งแทรกซึมเข้าไปในโครงสร้างของพายุในขณะที่พายุเริ่มเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก หลังจากนั้นพายุก็เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และขึ้นถึงขอบด้านทางทิศตะวันตกของสันเขากึ่งเขตร้อนในขณะที่ศูนย์กลางของพายุเปิดโล่งเต็มที่เมื่ออากาศเย็นจากทะเลจีนตะวันออกพัดเข้ามาในพายุต่อมา
  • วันที่ 18 ตุลาคม พายุได้เคลื่อนตัวออกจากพื้นที่รับผิดชอบของประเทศฟิลิปปินส์ จึงทำให้สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้ออกคำแนะนำสุดท้ายเมื่อพายุเริ่มเคลื่อนตัวเร็วขึ้น การพาความร้อนลึกก็ลดลงในขณะที่อากาศแห้งล้อมรอบศูนย์กลางของพายุพร้อมกับลมเฉือนที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากร่องความกดอากาศระดับบนทำให้เกิดการทรุดตัวอย่างหนักตามแนวด้านทางทิศตะวันตกของศูนย์กลางพายุ และไม่นานพายุโซนร้อนพระพิรุณก็ฝังตัวอยู่ในกลุ่มความกดอากาศที่มีลมเฉือนรุนแรง เนื่องจากโครงสร้างของพายุเริ่มขยายตัวโดยการพาความร้อนลึกคลี่คลาย และเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือของศูนย์กลางพายุเริ่มเปลี่ยนผ่านนอกเขตร้อนในช่วงปลายวันเดียวกัน
  • วันที่ 19 ตุลาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ออกคำแนะนำสุดท้ายในช่วงเช้าของวันถัดมา เนื่องจากอากาศเย็น และแห้งแทรกซึมเข้าสู่ศูนย์กลางของพายุจากทางทิศตะวันตก พายุโซนร้อนพระพิรุณได้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนอย่างสมบูรณ์ 12 ชั่วโมงต่อมา ขณะที่พายุเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือก่อนจะเปลี่ยนทิศไปทางทิศเหนือ และถูกสังเกตเห���นครั้งสุดท้ายใกล้หมู่เกาะอะลูเชียน

ผลกระทบ

[แก้]

ประเทศญี่ปุ่น

[แก้]

ประเทศญี่ปุ่นได้รับผลกระทบจากพายุโซนร้อนพระพิรุณ เรือเฟอร์รี่ไปกลับจากเกาะต่าง ๆ ในจังหวัดโอกินาวะได้ถูกระงับ การแข่งขันไตรกีฬาในอิเซนะครั้งที่ 25 เดิมกำหนดจะจัดขึ้นในวันที่ 21 ตุลาคม จึงเป็นเรื่องยากสำหรับผู้เข้าแข่งขัน และเจ้าหน้าที่ ในการไปเกาะอิเซนะได้ถูกยกเลิก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากพายุที่เคลื่อนตัวพัดอยู่ในทะเลจีนตะวันออกเป็นเวลานาน และเมืองโยรงต้องเผชิญกับคลื่นสูงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม เรือบรรทุกน้ำมันมีกำหนดเดิมจะมาถึงในวันที่ 11 ตุลาคม แต่ไม่สามารถเข้าเทียบท่าได้ เนื่องจากคลื่นขนาดใหญ่ที่เกิดในเมืองโยรง เกาะในจังหวัดคาโงชิมะ เรือบรรทุกน้ำมันอาจไม่สามารถออกได้เพราะน้ำมันหมดตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม จนถึงวันที่ 20 ตุลาคม และยานพาหนะบนเกาะไม่สามารถเติมเชื้อเพลิงได้ ก่อนหน้านี้พายุไต้ฝุ่นซันปา และพายุไต้ฝุ่นเจอลาวัตได้ทำให้บ้านเรือนจำนวนมากได้รับความเสียหายอย่างหนัก การกวาดล้างเศษหินยังสะสมอยู่เนื่องจากเรือกู้ชีพไม่สามารถเข้าเทียบท่าได้ และเกิดการขาดแคลนอาหารบนเกาะ หมู่บ้านหลายแห่งบนเกาะมิยาโกะจิมะไม่สามารถเข้าไปในหมู่บ้านได้ เนื่องจากมีคลื่นสูงเป็นเวลา 1 สัปดาห์ จึงส่งผลกระทบให้เกิดการขาดแคลนอาหาร เช่น ผัก ปลา และผลิตภัณฑ์จากนม[9]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. "พระพิรุณ" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 1 ลำดับที่ 12 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศไทย
  2. พายุไต้ฝุ่น "นีนา" (7 ตุลาคม ถึง 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555) จากรายงานของสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA)
  3. ความเร็วลมเฉลี่ยนี้ใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 10 นาที เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  4. สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเป็นศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคอย่างเป็นทางการในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก[7]
  5. ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม เป็นหน่วยงานเฉพาะกิจร่วมระหว่างกองทัพเรือสหรัฐ – กองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งจะออกประกาศเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และภูมิภาคอื่น ๆ[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Unnamed Tropical Depression, Tropical Cyclone Advisory 0000z" (ภาษาอังกฤษ). Japan Meteorological Agency. 2012-10-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2024. สืบค้นเมื่อ 5 October 2012.
  2. RSMC Tropical Cyclone Advisory 080000 (Report). Japan Meteorological Agency. October 8, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2024. สืบค้นเมื่อ 21 December 2023.
  3. Tropical Storm "NINA" (PRAPIROON) Severe Weather Bulletin Number ONE (Report). Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. 8 October 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2024. สืบค้นเมื่อ 21 December 2023.
  4. RSMC Tropical Cyclone Advisory 081800 (Report). Japan Meteorological Agency. October 8, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเด���มเมื่อ 23 May 2024. สืบค้นเมื่อ 21 December 2023.
  5. RSMC Tropical Cyclone Advisory 160000 (Report). Japan Meteorological Agency. 2012-10-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2024. สืบค้นเมื่อ 22 December 2023.
  6. Tropical Storm "NINA" (PRAPIROON) Severe Weather Bulletin Number TWENTY (FINAL) (Report). Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. 2012-10-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2024. สืบค้นเมื่อ 22 December 2023.
  7. "Annual Report on Activities of the RSMC Tokyo – Typhoon Center 2000" (PDF). Japan Meteorological Agency. February 2001. p. 3. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
  8. "Joint Typhoon Warning Center Mission Statement". Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2007. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
  9. "沖縄タイムス | いぜな88トライアスロン、台風のため中止". web.archive.org (ภาษาญี่ปุ่น). 2012-10-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-17. สืบค้นเมื่อ 17 October 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]